วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 Cloud Technology หรือ Cloud Computing คือ เทคโนโลยีของระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้ให้เป็นไปในมุมมองในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้ทรัพยากรสาธารณูปโภคที่มีผู้ให้บริการ

  การใช้งาน โดยในปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้ Cloud Technology ได้ 2-3 รูปแบบ (SaaS, IaaS, PaaS) อธิบายแบบง่ายๆ คือ

รูปแบบที่ 1 (Software as a Service, SaaS): จากรูปด้านล่างผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลองค์กรได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Business Software บน Cloud Technologyได้ทันที เช่น ใช้ Email Application, ระบบ File Sharing/Content Management, ระบบ CRM Application สำหรับ Sales และ Customer Support เป็นต้น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่า Application นี้ทำงานอยู่ที่ไหน เก็บข้อมูลอย่างไร ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลา ที่สามารถเข้าถึง Internet ได้

ปแบบที่ 2 (Infrastructure as a Service, IaaS): สะดวก ยืดหยุ่น และ ง่ายต่อการบริหารทรัพยากร IT ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Virtual Server/ Virtual Machine บน Cloud Technology ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเครื่อง Server ที่มี 4 CPUs, 32GB Memory, 10TB Storage สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทันที จาก Cloud Technology เช่นเดียวกันกับรูปแบบที่ 1 ที่ผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเลยว่า Virtual Server หรือ Virtual PC/Desktop ที่ได้มานั้น ตั้งอยู่ที่ไหนมาได้อย่างไร สามารถเรียกใช้หรือคืนได้ทันทีเมื่อใช้เสร็จ
Cloud Technology รูปแบบที่ 3 (Platform as a Service, PaaS): เป็นรูปแบบที่กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของเพื่อให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อาศัยคุณสมบัติข้อดีของCloud ได้อย่างดีเยี่ยม รูปแบบนี้ อาจจะอธิบายได้ยากและซับซ้อนมากขึ้นกว่า 2 รูปแบบแรก ซึ่งผู้ใช้ Cloud ในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานบน Cloud และให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นนั้นใช้คุณสมบัติต่างๆของ Cloud ที่จะไม่สามารถหาได้จากสภาวะปกติ (Non-cloud computing)

 Google ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ จะทำการจัดการเทคโนโลยีเบื้องหลังทั้งหมดให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยจะมีการทำการสำรองข้อมูลกระจายไปยัง Google Datacenter ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่ม Service Level ให้ครอบคลุมและให้มี Service Uptime มากสุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 7 วัน ซึ่งถ้าหากองค์กรธุรกิจที่ต้องการลงทุน IT Infrastructure เองเพื่อให้ได้ความสามารถเทียบเคียงกับ Google Apps นั้น จำเป็นต้องลงทุน (Upfront Investment) ในหลายๆ เรื่อง ที่เป็น Infrastructure หลัก เช่น Server, Storage, Email Software License, Anti-Virus/Anti-Spam Software, Mobile Servers, File Servers , Operating System License , Clustering Software License และ อื่นๆ อีกมากมาย ยังไม่รวมถึงการทำ Disaster Recovery ที่จำเป็นต้องมี Datacenter สำรอง นอกสถานที่ เพื่อปกป้องข้อมูลของระบบ Email อีกด้วย สุดท้ายถ้าหากมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น Server Hardware ต่างๆ จะต้องมีการ Upgrade เปลี่ยนเครื่อง ก็จัดเป็น Upfront Investment อย่างเป็นลูกโซ่ไม่รู้จบ ถ้าเทียบกับการลงทุนกับ Google Apps เพียงคิดค่าบริการเป็นรายปีต่อผู้ใช้ เหมาจ่าย ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง เป็นต้น